Description
1 ระบบกล้องเล็งที่หมาย (TELESCOPE SYSTEM)
1.1 ภาครับและภาคส่งของเครื่องวัดระยะอิเล็คทรอนิคจะต้องถูกประกอบอยู่ในกล้องเล็ง สำหรับวัดมุม ซึ่งมีแกนร่วมกัน และสามารถหมุนได้รอบตัว
1.2 เส้นผ่าศูนย์กลางเลนส์ปากกล้องเล็ง (OBJECTIVE APERTURE) มีขนาด 45 มิลลิเมตร มีกำลังขยาย 30 เท่า ให้ภาพหัวตั้ง
1.3 ให้มุมมองภาพกว้าง (FIELD OF VIEW) 1 องศา 30 ลิปดา
1.4 มีระยะชัดใกล้สุด 1.30 เมตร
1.5 มีระบบแสงสว่างภายในสามารถปรับแสงสว่างได้ 5 ระดับ
1.6 มีลำแสงเลเซอร์ชนิดมองเห็นเพื่อเล็งที่หมายและสามารถ เปิดและปิดลำแสง ขณะทำการรังวัดระยะได้
2 ระบบการวัดมุม
2.1 การวัดมุมใช้ระบบ ROTARY ABSOLUTE ENCODER
2.2 ระบบล็อคจานองศาราบและดิ่งทำจากวัสดุที่เป็นโลหะและล็อคโดยการหมุนเกลียว
2.3 ค่ามุมราบและมุมดิ่งน้อยที่สุด ที่สามารถอ่านได้ (MINIMUM READING) 0.5 ฟิลิปดา
2.4 ความละเอียดถูกต้อง (ACCURACY) หรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการวัดมุมราบและมุมดิ่งเท่ากับ 1 ฟิลิปดา
2.5 มีหลอดระดับฟองกลมและฟองยาวเป็นแบบอิเลคทรอนิค ความไว 6 ลิปดาและระดับฟองกลมที่ฐานกล้อง 10 ลิปดา ต่อ 2 มิลลิเมตร
2.6 มีกล้องส่องหัวหมุดติดกับตัวกล้อง (PLUMMET) กำลังขยาย 3 เท่าและมีระยะโฟกัสภาพชัดใกล้สุด 0.5 เมตร
2.7 COMPENSATOR เป็นแบบ DUAL-AXIS LIQUID TILT SENSOR เพื่อปรับค่าความคลาดเคลื่อนขององศาราบและองศาดิ่งโดยอัตโนมัติ โดยมีช่วงการทำงาน +/-6 ลิปดา
3 ระบบการวัดระยะ (DISTANCE MEASUREMENT)
3.1 ในสภาวะอากาศปกติ ซึ่งมีทัศนวิสัยประมาณ 20 กิโลเมตร เมื่อวัดระยะโดยใช้
– ปริซึมชนิดดวงเดียว วัดระยะทางได้ตั้งแต่ 1.3 ถึง 5,000 เมตร
– ไม่ใช้ปริซึม วัดระยะทางได้ตั้งแต่ 0.3 ถึง 800 เมตร
3.2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (STANDARD DEVIATION) ของการวัดระยะโดยใช้ปริซึม (1.5 + 2 ppm x D) mm และการวัดระยะโดยไม่ใช้ปริซึม (2 + 2 ppm x D) mm
3.3 มีปุ่มสำหรับวัดระยะทางอย่างน้อย 1 ปุ่ม
3.4 สามารถปรับแก้ค่าคงที่ของปริซึม (PRISM CONSTANT CORRECTION) ได้ตั้งแต่ -99 mm ถึง +99 mm
3.5 สามารถปรับแก้ค่าหักเหของคลื่นในชั้นบรรยากาศ (ASMOSPHERIC CORRECTION) โดยการป้อน ค่าอุณหภูมิและความกดอากาศได้ตั้งแต่ -499 ppm ถึง +499 ppm
3.6 สามารถใช้งานได้ดีในสภาวะอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ถึง +60 องศาเซลเซียส
3.7 มีเสียงแสดงสัญญาณคลื่นแสงสะท้อนกลับ
3.8 เวลาในการวัดแบบละเอียด 1 มิลลิเมตรใช้เวลาไม่เกิน 0.9 วินาที
4 ระบบการควบคุม ระบบการแสดงผล การถ่ายทอดข้อมูลและแบตเตอรี่
4.1 มีหน้าจอควบคุมการปฏิบัติงานและช่องแสดงค่าเหมือนกันทั้ง 2 ด้าน
4.2 มีหน่วยความจำภายในตัวกล้องสำหรับบันทึกข้อมูลการรังวัดในสนามได้ 1 GB
4.3 มีพอร์ตสำหรับการถ่ายเทข้อมูลตามมาตรฐานแบบ RS-232C
4.4 มีอร์ตสำหรับ USB Flash Memory สำหรับถ่ายโอนข้อมูล
4.5 จอภาพเป็นแบบ TFT QVGA color LCD ขนาด 3.5 นิ้ว
4.6 ตัวกล้องสามารถป้องกันน้ำได้ (WATER PROTECTION) ในระดับ IP65
4.7 มีปุ่มควบคุมการใช้งาน 29 ปุ่มสามารถใส่ค่าตัวเลขและตัวอักษรได้โดยตรง
4.8 แบตเตอรี่ขนาดมาตรฐานสามารถทำงานได้ 20 ชั่วโมง
4.9 มีปุ่มล็อกจานองศาราบและดิ่งแบบโลหะ
5 ความสามารถพื้นฐาน
5.1 ใช้ระบบปฏิบัติการ Window Embedded Compact7
5.2 มีฟังก์ชันการปรับแก้วงรอบภายในตัวกล้อง (Traverse Adjustment)
5.3 สามารถวัดความสูงของตำแหน่งที่ไม่สามารถวางปริซึมได้ (Remote Elevation Measurement)
5.4 สามารถวัดระยะระหว่างจุดที่มีสิ่งกีดขวางแนวเล็งได้ (Missing Line Measurement)
5.5 สามารถกำหนดทิศทางอ้างอิง โดยการป้อนใส่ค่าพิกัดของจุดอ้างอิง
5.6 มีฟังก์ชันการทำงานเพื่อค้นหาจุดหรือกำหนดจุดในสนามได้ (Setting Out)
5.7 มีฟังก์ชันรังวัดเพื่อหาค่าพิกัดของจุดตั้งกล้อง (Resection)
5.8 ฟังก์ชันคำนวณหาจุดตัดระหว่างเส้น 2 เส้น (Intersection)
5.9 สามารถคำนวณพื้นที่ (Area Calculation) ได้